วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 8

ใบงานที่ 8
ให้ผู้เรียนสรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9-10-11-12 ลงในบล็อกของผู้เรียนอย่างย่อ ๆ
กลุ่มที่9
กลุ่มที่ 9 เรื่อง การเขียนโครงการแลละการบริหารรการจัการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษาโครงการที่กำหนดขึ้นแม้เป็นโครงการที่มีลักษณะดีเพียงใด แต่ตัวโครงการก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การ หน่วยงาน หรือ สังคมของชนกลุ่มใหญ่ ตามที่ได้เขียนไว้ในโครงการได้ทั้งหมด เพราะการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในโครงการยังมีส่วนประกอบหรือปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อาจทำให้การดำเนินงานของโครงการบรรลุถึงเป้าหมายอย่างด้อยประสิทธิภาพ นอกจากนี้โครงการหนึ่งอาจเป็นโครงการที่ดีที่สุดในระยะหนึ่ง แต่อาจเป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยในอีกเวลาหนึ่งก็เป็นไปได้ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนโครงการอาจจะเป็นคนละคนกับผู้ดำเนินงานตามโครงการหรืออาจจะเป็นคนๆ เดียวกันหรือกลุ่มๆเดียวกันก็ย่อมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดและชนิดขอโครงการลักษณะของโครงการและอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าโครงการจะมีขนาดเช่นใด ชนิดและประเภทใด ย่อมต้องมีรูปแบบ (Form) หรือโครงสร้าง (Structure) ในการเขียนที่เหมือนกันดังนี้1. ชื่อโครงการ2. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ3. ผู้รับผิดชอบโครงการ4. หลักการและเหตุผล5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย6. วิธีดำเนินการ7. แผนปฏิบัติงาน8. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ9. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้10. การติดตามและประเมินผลโครงการสรุปแล้วการเขียนโครงการแบบประเพณีนิยมจะต้องมีเนื้อหาสาระที่ละเอียดชัดเจนเฉพาะเจาะจง โดยรูปแบบของโครงการจะสามารถตอบคำถามดังต่อไปนี้ได้ คือ (ประชุม, 2535)1. โครงการอะไร หมายถึง ชื่อโครงการ2. ทำไมต้องทำโครงการนั้น หมายถึง หลักการและเหตุผล3. ทำเพื่ออะไร หมายถึง วัตถุประสงค์4. ทำในปริมาณเท่าใด หมายถึง เป้าหมาย5. ทำอย่างไร หมายถึง วิธีดำเนินการ6. ทำเมื่อใดและนานแค่ไหน หมายถึง ระยะเวลาดำเนินการ7. ใช้ทรัพยากรอะไร เท่าใด และได้จากไหน หมายถึง งบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ8. ใครทำ หมายถึง ผู้รับผิดชอบโครงการ9. ต้องทำกับใคร หมายถึง หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้การสนับสนุน10. ทำได้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ หมายถึง การประเมินผล11. เกิดอะไรขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ หมายถึง ผลที่คาดว่าจะได้รับ12. มีปัญหาอุปสรรคหรือไม่ หมายถึง ข้อเสนอแนะโครงการทุกโครงการ หากผู้เขียนโครงการสามารถตอบคำถามทุกคำถามดังกล่าวได้ทั้งหมด อาจถือได้ว่าเป็นการเขียนโครงการที่มีความสมบูรณ์ในรูปแบบ และหากการตอบคำถามได้อย่างมีเหตุผลและมีหลักการ ย่อมถือได้ว่าโครงการที่เขียนขึ้นนั้นเป็นโครงการที่ดี นอกจากจะได้รับการพิจารณาอนุมัติโดยง่ายแล้ว ผลของการดำเนินงานมักจะมีประสิทธิภาพด้วย
กลุ่มที่10
กลุ่มที่ 10 เรื่อง การวางแผนพัฒนาคุณภาพ1. ปกระบุชื่อสถานศึกษา ชื่อแผน และช่วงเวลาที่ใช้แผน2. คำนำ3. สารบัญ4. ภาพรวมของสถานศึกษา ประกอบด้วย4.1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษาบรรยายสรุปสาระสำคัญสั้น ๆ เพื่อความ เข้าใจในบริบท กระบวนการจัดการศึกษาในชุมชน สาระข้อมูลอาจประกอบด้วย4.1.1 ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา เช่น จำนวนบุคลากร ทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก อัตราส่วนของข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็น4.1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน เช่น สถานภาพทางสังคม และเศรษฐกิจของชุมชนความร่วมมือของชุมชน เป็นต้น การนำเสนอข้อมูลควรเขียนให้สั้น กระชับได้ใจความและควรในกราฟ แผนภูมิ เป็นต้น ในการนำเสนอข้อมูล4.2 การดำเนินของสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในช่วงที่ผ่านมา โดยกล่าวถึง ความสำเร็จที่โดดเด่นที่สถานศึกษาภาคภูมิใจ ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในสาขาวิชาหลักตามที่กำหนดใน หลักสูตร ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของประเทศ ของพื้นที่ และหน่วยงานอื่น เป็นต้น ซึ่งควร นำเสนอการดำเนินงานของสถานศึกษา ตามข้อเท็จจริงโดยจำแนกข้อมูลส่วนประกอบหลักของระบบการ จัดการศึกษา ได้แก่ หลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาวิชาชีพ การจัดองค์กร และสิ่งแวดล้อมของ สถานศึกษาและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน4.3 สรุปสถานภาพปัจจุบันของสถานศึกษาและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชี้ให้เห็นสภาพ จุดเด่นของสถานศึกษา สภาพปัญหา อุปสรรค และจุดด้อยของสถานศึกษา สิ่งที่ท้าท้าย ความสามารถของสถานศึกษา และประเด็นสำคัญที่สถานศึกษากำหนด เพื่อการพัฒนาในระยะต่าง ๆ ได้แก่ ในระยะยาว และรายปี ซึ่งแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มิได้กำหนดตายตัวว่ารอบระยะเวลาของ แผนจะครอบคลุมกี่ปี ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถานศึกษาที่จะกำหนดรอบระยะเวลาได้ตามความ เหมาะสม และวิถีการปฏิบัติของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งอาจจัดทำเป็นแผน 1 ปี หรือ ระยะเวลายาวขึ้น เป็น 2-3 ปี ก็ได้5. เจตนารมณ์ของสถานศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจปณิธานที่สถานศึกษา และชุมชนยึดมั่น และหล่อหลอมเป็นแนวปฏิบัติของสถานศึกษาในการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นสู่คุณภาพของผู้เรียน การ นำเสนอเจตนารมณ์ของสถานศึกษา ในแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาแต่ละแห่งอาจแตกต่างกัน บางแห่ง อาจมีทั้งวิสัยทัศน์และภารกิจ บางแห่งอาจละไว้ไม่เขียนข้อความวิสัยทัศน์ แต่เริ่มต้นด้วยความเชื่อ และ ตามด้วยภารกิจของสถานศึกษา เพื่อเป็นกฎเกณฑ์ร่วมในการปฏิบัติ สถานศึกษาจะมีแนวทางในการเขียน เช่นใดก็ตาม ทั้งนี้สิ่งที่เขียนจะต้องสะท้อนให้เห็นอุดมการณ์ หลักการ คุณค่า หรือความเชื่อร่วมที่ สถานศึกษา และชุมชนยึดมั่น เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีคุณค่าที่ดีที่สุดต่อผู้เรียน5.1 วิสัยทัศน์ เป็นเจตนารมณ์ หรือความตั้งใจที่กว้าง ครอบคลุมทุกเรื่องของสถานศึกษา และ เน้นการคิดไปข้างหน้าเป็นสำคัญ แสดงถึงความคาดหวังในอนาคต โดยมิได้ระบุวิธีดำเนินงานเอกลักษณ์ของสถานศึกษา และความ ยาวประมาณ 3-5 ประโยค5.2 ภารกิจ (หรือพันธกิจ) เป็นข้อความที่แสดงเจตนารมณ์ และวิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุถึง วิสัยทัศน์ ซึ่งมีลักษณ์ค่อนข้างเป็นนามธรรม ข้อความ ภารกิจแสดงว่าสถานศึกษาปรารถนาที่จะสัมฤทธิผล อะไรในปัจจุบัน และยังนำไปสู่การวางแนวปฏิบัติด้านพฤติกรรมของบุคลากรด้วย5.3 เป้าหมาย (หรือจุดมุ่งหมาย) เพื่อให้ภารกิจที่กำหนดมีความเป็นไปได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สถานศึกษาจะต้องกำหนดเป้าหมายที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของ สถานศึกษา เช่น ในด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้านหลักสูตร และการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ การจัดองค์กร การพัฒนาวิชาชีพ และการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของชุมชน เป็นต้น เป้าหมายที่กำหนดให้ ระดับนี้เป็นผลลัพธ์ปลายทางที่สถานศึกษาคาดหวังจะบรรลุผลภายในช่วงเวลาที่กำหนด ลักษณะการเขียน ยังเป็นผลลัพธ์ที่คาดหวังกว้าง ๆ6. เป้าหมายการพัฒนา (หรือวัตถุประสงค์) และยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษา6.1 เป้าหมายการพัฒนาเป็นผลลัพธ์ที่คาดหวังในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป้าหมายนี้ได้จาก ประเด็นสำคัญการพัฒนาอันมาจากการวิเคราะห์ความต้องการและความจำเป็น แล้วกำหนดระยะเวลาที่จะ พัฒนาว่าเป็น 1 ปี 2 ปี หรือ 3 ปี6.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ระบุยุทธศาสตร์ที่สถานศึกษาใช้ อันเป็น ยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ มีงานวิจัยรองรับ สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาให้บรรลุผล ตามเป้าหมายได้โดยปกติแต่ละเป้าหมายการพัฒนาจะมีหลายยุทธศาสตร์รองรับเพื่อให้สามารถนำไปสู่การ ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ7. แผนปฏิบัติการประจำปี เป็นแผนที่กำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการในแต่ละปี เพื่อให้ บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ 6 ดังนั้นแผนปฏิบัติการประจำปี ประกอบด้วย สังเขปรายละเอียดของกิจกรรม หรือขั้นตอนการ ปฏิบัติเพื่อในบรรลุผลตามยุทธศาสตร์ และเป้าหมายการพัฒนาที่กำหนด ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม หรือ ขั้นตอนการปฏิบัติ กรอบเวลา งบประมาณ และแหล่งงบประมาณรูปแบบการเขียนนิยมใช้ตาราง ซึ่งจะช่วยให้เห็นความเชื่อมโยงตั้งแต่เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ มาตรฐานที่เป็นจุดเน้นของการพัฒนา วิธีการประเมินผล ตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จ ผู้รับผิดชอบ กรอบ เวลา งบประมาณสำหรับแต่ละกิจกรรม8. การระดมทรัพยากร แหล่งสนับสนุนงบประมาณ และสรุปงบประมาณในแผนพัฒนา คุณภาพสถานศึกษา จะบอกจำนวนงบประมาณรวมที่จะต้องใช้ในแต่ละปี และแหล่งที่สถานศึกษาจะ สามารถระดมทรัพยากรและการสนับสนุนด้านงบประมาณได้ สำหรับแผนงบประมาณจะเป็นการ ดำเนินงานแยกจากแผนปฏิบัติการายปี9. การประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน และแหล่งวิทยาการภายนอก เพื่อการสนับสนุน ทางวิชาการและอื่น ๆ เพื่อการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยระบุว่าจะขอความ ร่วมมือจากหน่วยงานใด ในเรื่องใด เป็นต้น10. การแสดงภาระความรับผิดชอบการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เป็นการประเมิน คุณภาพผู้เรียน การประเมินความก้าวหน้าของสถานศึกษา การผดุงระบบคุณภาพของสถานศึกษา และการ รายงานผลการปฏิบัติของสถานศึกษาต่อผู้เรียน บิดา มารดา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง11. กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และการขอรับความเห็น
กลุ่มที่11
กลุ่มที่ 11 เรื่อง การบริหารการจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจังและเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการทางการศึกษา สถานศึกษาควรดำเนินการดังนี้1. สถานศึกษาจะต้องดำเนินการประกันคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปี2. ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา และการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และดำเนินงานตามแผน ติดตามประเมินผลการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่ใช่มุ่งเน้นการจับผิดหรือให้คุณให้โทษบุคลากรของสถานศึกษา3. การดำเนินการประกันคุณภาพทุกขั้นตอนให้เน้นการประสานงานและการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา กรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรของหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน เขตพื้นที่การศึกษาและภูมิภาคเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการในการให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยสถานศึกษาควรช่วยเตรียมพร้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา4. สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานประจำปีการศึกษาให้เรียบร้องภายในเดือนเมษายนของทุกปี โดยให้แสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษา แนวทางหรือแผนงานในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป แล้วเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงกำหนด และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ตลอดจนสาธารณชน โดยจัดทำรายงานโดยสรุป ปิดประกาศไว้ที่โรงเรียน แจังให้ผู้ปกคองและเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งมีรายงานฉบับสมบูรณ์ที่พร้อมจะให้ผู้ที่สนใจขอดูได้ตลอดเวลา5. จัดเตรียมเอกสารหลักฐานและข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียน และแนวทางการจัดการศึกษษ ตามหลักการและจุดมุ่งหมายของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และเตรียมพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยบุคลากรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบห้าปีประโยชน์ของการประกันคุณภาพการศึกษาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาจะทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการและการพัฒนาการศึกษาทุกขั้นตอน ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย/การวางแผน การทำตามแผน การประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงาน นอกจากนี้การประกันคุณภาพการศึกษายังเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้· ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ ได้ทำงานที่เป็นระบบที่ดี มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ และเน้นวัฒนธรรมคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำ และความรู้ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม· หน่วยงานที่กำกับดูแลได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพพทางการศึกษา และคุณภาพของสถานศึกษา· ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้เยาวชนและคนที่ดีมีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยทำงานพัฒนาองค์กร ชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป
กลุ่มที่12
กลุ่มที่ 12 เรื่อง การประเมินคุณภาพการศึกษาการประเมินคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา แต่จะเน้นการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย/คณะ/วิทยาลัย กับตัวบ่งชี้คุณภาพในทุกองค์ประกอบของคุณภาพว่า การดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดมากน้อยเพียรไร โดยจัดเป็นระดับของการบรรลุเป้าหมาย1 หลักการประเมินคุณภาพ เนื่องจากการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของอุดมศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเพื่อความอยู่รอด การพัฒนา และความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของประเทศ เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาดังกล่าวข้างต้นอย่างต่อเนื่องก็คือ การประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งต้องครอบคลุมทั้งการประเมินคุณภาพภายนอกสถาบันอุดมศึกษา และการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา การประเมินคุณภาพภายนอก มีหลักการสำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้ 1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการ ตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณ - ให้โทษ 2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง ( Evidence - base ) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability) 3) มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม 4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 5) มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 โดยให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติที่สถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน2 แนวทางในการประเมินภายใน 1) การประเมินภายในเริ่มด้วยการศึกษาตนเองของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัยที่รับผิดชอบ 2) ประเมินตามภารกิจหลักทั้ง 4 ประการ ของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัย 3) ผู้บริหาร / คณาจารย์ และนักศึกษา มีส่วนร่วมในการประเมิน 4) ประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น3 วัตถุประสงค์การประเมินคุณภาพวัตถุประสงค์ทั่วไป 1) เพื่อให้ทราบระดับคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาในการดำเนินภารกิจด้านต่างๆ 2) เพื่อกระตุ้นเตือนให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาการศึกษา และประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง 3) เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา 4) เพื่อรายงานสถานภาพและพัฒนาการในด้านคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาต่อสาธารณชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ตามกรอบแนวทางและวิธีการที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษากำหนด และสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด 2) เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น - จุดที่ควรพัฒนาของสถาบันอุดมศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา 3) เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด 4) เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง 5) เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1) เกิดการพัฒนาคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง เข้าสู่ระดับมาตรฐานสากล 2) การใช้ทรัพยากรในการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3) การบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล อันจะทำให้การผลิตบัณฑิตทุกระดับ การสร้างผลงานวิจัย และการให้บริการวิชาการ เกิดประโยชน์สูงสุด และตรงกับความต้องการของสังคมและประเทศ 4) นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้จ้างงาน และสาธารณชนมีข้อมุลสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องและเป็นระบบ 5) สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานบริหารการศึกษา และรัฐบาลมีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นระบบในการกำหนดนโยบาย วางแผน และบริหารจัดการศึกษา

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553


ใบงานที่ 6
ให้นักศึกษาศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากเอกสารและในInternet แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังนี้
1.ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
ตอบ พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ
2.ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ตอบ หากข้าพเจ้าได้เป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นสิ่งที่ข้าพเจ้าจะศึกษาเป็นอันดับแรกก็คือวิถีชีวิตของคนในพื้นที่นั้นว่า เค้าทำกิจวัตรประจำวันอะไรบ้าง ทำอาชีพอะไร นับถือศาสนาใดบ้าง นิสัยใจคอเป็นอย่างไร และที่สำคัญนั้นเราจะปรับตัวอย่างไรในการเข้าไปอยู่ในสังคมของเค้า ส่วนใหญ่ในสามจังหวัดชายแดนนั้นน่าจะนับถือศาสนาอิสลาม ชีวิตในด้านอาหารการกินก็น่าจะไม่มีอาหารประเภทเนื้อหมู เราก็จะต้องปรับตัวเองเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ ในด้านภาษาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ และอีอย่างหนึ่งเราต้องศึกษาดูใจ นิสัย ใจคอ ของคนที่นั่นอีกด้วย
3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ 1.รับฟังมุมมองที่แตกต่าง ไม่อคติ มีใจเป็นกลาง มีเหตุผล ไม่คิดว่า ความคิดของตนเองถูกแล้ว ดีแล้วเสมอ ไม่คิดว่า ความคิดของคนอื่นผิด หรือ ผิดทั้งหมดเสมอ ไม่พูดจาหรือแสดงออกที่เป็นการดูถูกผู้อื่น2.ทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นยอมรับและหาวิธีการที่ผสมผสานให้เกิดประโยชน์สูงสุด (ไม่เอาแพ้ – ไม่เอาชนะกัน)3.ไม่คิดว่า เคยทำอย่างไรมา ก็จะต้องทำอย่างนั้นตลอดไป โดยไม่ดูข้อมูลหรือ ปัจจัยที่เปลี่ยนไป (ไม่ใช่อะลุ่มอล่วยด้วยความรู้สึกเห็นใจ)4.ไม่ตีกรอบการทำงานของตัวเอง แต่จะพิจารณาถึงเป้าหมาย / หลักการ ถ้าเป็นการเพิ่ม Performance ให้กับตัวเองและส่วนรวม จะลองเอาไปคิดและทำดู5.ไม่หนีปัญหา แต่จะจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา หากทีมใดกลุ่มใดมีหลักการข้างต้นแล้วจะทำให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีและทำให้การทำงานเป็นทีมนั้นประสบความสำเร็จ
4.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
ใบงานครั้งที่ 5
ท่านจะนำประเด็นต่อไปนี้ไปใช้ในการเป็นครูที่ดีได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
ตอบ ในการอยู่ร่วมกันในหอพัก สิ่งแรกที่จะต้องให้เกิดการมีมนูษยสัมพันธิ์ที่ดีต่อกัน ควรจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเกิดความสามัคคีกันในหอพักนักศึกษา การรู้จักให้อภัย การมีน้ำใจต่อกันและกัน
2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ตอบ การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มมีความจำเป็นสำหรับการเรียนการสอนของเราเป็นอย่างมาก เพราะในการทำงานบางสิ่งบางอย่างต้องอาศัยการทำงานกันในกลุ่มคนเยาะๆ งานบางอย่างจะประสบผลสำเร็จ และการทำงานเป็นกลุ่มจะสอนให้เกิดความสามัคคี การรู้จักให้อภัย การมีน้ำใจที่จะมีให้เพื่อนในกลุ่ม
3.หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ หากเราเกิดการทะเลาะกัน ควรนำหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ตามแนวคิดพระพุทธศาสนาไปใช้คือ ปิยวาจา การเจรจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะรื่นหูสุภาพมีคำพูดที่สัจจะเชื่อถือได้ อัตถจริยา การร่วปฎิบัติงานที่เกื้อกูลกัน และสมานัตตา การประฤติวางตัสเสมอต้นเสมอปลาย ทำตัวของเราให้เข้ากับคนทั้งหลายได้
4.แนวคิดเชิงบวกเป็นอย่างไร
ตอบ เป็นการสื่อความที่มุ่งหวังให้เกิดการแสวงหาหนทางที่ใช้ปรับปรุง และแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิติให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่การจับผิด และไม่พูดตำหนิติเตียนหรือวิจารณ์

ใบงานที่ 4
ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังนี้
1.หลักการของการทำงานเป็นทีมควรเป็นอย่างไร
ตอบ 1. มีอุดมการณ์ที่แน่นอน และสมาชิกทุกคนยอมรับ 2. ยึดมั่นในความถูกต้อง 3. ใช้หลักการประนีประนอม 4. ถือหลักการให้อภัยระหว่างกันเสมอ 5. มีสำนึกในเรื่องสัดส่วนการปฏิบัติงาน ไม่เอาเปรียบกัน 6. ถือว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน 7. เคารพในสิทธิและเสรีภาพส่วนตัวของเพื่อนสมาชิก 8. ถือหลักการไม่มุ่งเอาเด่นคนเดียว แต่ต้องดีร่วมกันทั้งทีม 9. รู้จักมองปัญหาให้เป็นเรื่องธรรมดา 10. เปิดใจกว้างระหว่างกัน 11. รู้จักแบ่งงาน และประสานงาน 12. มีความเป็นอิสระในการทำงานพอสมควร 13. ถือการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ อย่างเคร่งครัดเสมอ 14. ยอมรับผิดเมื่อทำผิด 15. เมื่อมีความขัดแย้งต้องถือหลักการปรับมุมมองที่อาจแตกต่างกัน ให้มองในมุมมองเดียวกันได้
2.มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การทำงานเป็นทีมประสบผลสำเร็จ
ตอบ 1. บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างจริงจัง และจริงใจ ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย2. ความไว้วางใจกัน (Trust) เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม สมาชิกทุกคนในทีมควรไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ ซื่อสัตย์ต่อกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน3. มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน สมาชิกทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภารกิจหลักของทีมงาน4. บทบาท(Role) สมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน และเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่นในทีม ทุกบทบาทมีความสำคัญ รวมทั้งบทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง เช่น การประนีประนอม การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ เป็นต้น5. วิธีการทำงาน (Work Procedure) สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ5.1 การสื่อความ (Communication) การทำงานเป็นทีมอาศัยบรรยากาศ การสื่อความที่ชัดเจนเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ทุกคนกล้าที่จะเปิดใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดความเข้าใจ และนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ5.2 การตัดสินใจ (Decision Making) การทำงานเป็นทีมต้องใช้การตัดสินใจร่วมกัน เมื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมแสดงความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจแล้ว สมาชิกย่อมเกิดความผูกพันที่จะทำในสิ่งที่ตนเองได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น5.3 ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น การทำงานเป็นทีมควรส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสแสดงความเป็นผู้นำ (ไม่ใช่ผลัดกันเป็นหัวหน้า) เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ จะได้รู้สึกว่าการทำงานเป็นทีมนั้นมีความหมาย ปรารถนาที่จะทำอีก5.4 การกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะเอื้อต่อการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วม ในการกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน6. การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของทีม ทีมงานควรมีการประเมินผลการทำงาน เป็นระยะ ในรูปแบบทั้งไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ โดยสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน ทำให้สมาชิกได้ทราบความก้าวหน้าของงาน ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงาน หรือการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน ซึ่งในที่สุดสมาชิกจะได้ทราบว่าผลงานบรรลุเป้าหมาย และมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด7. การพัฒนาทีมงานให้เข้มแข็ง7.1 พัฒนาศักยภาพทีมงาน ด้วยการสร้างแรงจูงใจทางบวก สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการจัดกิจกรรมสร้างพลังทีมงาน เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จ7.2 การให้รางวัล ปัจจุบันการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานไม่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม ส่วนใหญ่จะพิจารณาผลการทำงานเป็นรายบุคคล ดังนั้นระบบรางวัลที่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม คือ การที่ทุกคนได้รางวัลอย่างยุติธรรมทุกคน คือ ควรสนับสนุนการให้รางวัลแก่การทำงานเป็นทีมในลักษณะที่ว่างอยู่บนพื้นฐานการให้รางวัลกับกลุ่ม (Group base reward system)
3. การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง
ตอบ ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Channel Communication) เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคมช่องทางการสื่อสาร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลซึ่งหมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด โดยการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารนี้ ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ คือ ความกว้างของช่องสัญญาณและชนิดของข้อมูล ซึ่งคำว่า “ความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth)” อาจเปรียบได้กับความกว้างของถนนและ “ชนิดของข้อมูล” อาจเปรียบได้กับชนิดของรถยนต์ดังนั้นการที่ช่องทางการสื่อสารมีแบนด์วิดท์มาก ก็เท่ากับมีถนนหลายเลน รถยนต์สามารถวิ่งผ่านไปมาได้มากและรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันหากมีแบนด์วิดท์น้อยก็เท่ากับถนนมีเลนน้อย รถยนต์วิ่งผ่านไปมาได้น้อยและช้า นอกจากนี้แล้วชนิดของข้อมูลก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อปริมาณ และความรวดเร็วในการสื่อสารกล่าวคือชนิดข้อมูลที่เป็นข้อความจะมีขนาดเล็กทำให้การส่งผ่านข้อมู่ลไปมาทำได้สะดวกรวดเร็วแม้จะมีแบนด์วิดท์น้อยก็ตามแต่ในทางกลับกัน หากช่องทางการสื่อสารนั้นมีแบนด์วิดท์กว้าง แต่ชนิดข้อมูลกลับเป็นไฟล์วิดีโอซึ่งขนาดใหญ่มากก็จะทำให้ส่งผ่านข้อมูลได้ช้า ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด-ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical_Wire) เช่น สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pair Wire) สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) และเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable) เป็นต้น-ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น ไมโครเวฟ (Microwave) ดาวเทียม (Satellite) แสงอินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลาร์
4. วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ วัตถุประสงค์การสื่อสาร มี
1. เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
2. เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3. เพื่อลดเวลาการทำงาน
4. เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
5. เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
6. เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
5.ในฐานะที่ท่านเป็นครูท่านจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมไปประยุกต์ใช้กับการสอนได้อย่างไร
ตอบ ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจหรือหน่วยงานใด ๆ ก็ตามจะต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ความคิด อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกันงานด้านการติดต่อสื่อสารจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานเลขานุการ ที่จำเป็นจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการพูด การฟัง การเขียน การอ่าน ตลอดจนมีความสามารถในการใช้เครื่องมือสื่อสารชนิดต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องนอกจากนี้ การติดต่อสื่อสาร (Communication) ยังช่วยให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ก่อให้เกิดผลสำเร็จในการปฏิบัติงานฉะนั้น งานด้านการติดต่อสื่อสารจึงเป็นกระบวนการที่ใช้ส่งเรื่องราวข่าวสาร ข้อความ เรื่องและภาพ ไปมาระหว่างกันทั้งภายในหน่วยงาน (Internal Communication) และภายนอกหน่วยงาน (External Communication)สรุป การติดต่อสื่อสาร (Communication) หมายถึง การส่งข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง หรือหลายคน เพื่อให้เข้าใจความหมายของข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งส่งไป และเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ซึ่งการส่งข่าวสารอาจอยู่ในรูปของการสื่อสารด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร การใช้กิริยาท่าทางอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ โดยอาศัยช่องทางในการติดต่อสื่อสาร
ใบงานที่ 3
ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังต่อไปนี้

1.ความหมายองค์และองค์การ
ตอบ
องค์กร(Organ) หมายถึง บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรของรัฐสภา ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วยส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน หรือขึ้นต่อกันและกัน องค์การ(Organization) หมายถึง การเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่ร่วมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หรือตราสารจัดตั้ง ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ สรุป องค์กรเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ
2.องค์ประกอบของการสื่อสาร

ตอบ องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย(1) ผู้ส่งสาร หรือผู้กำหนดสาร (Sender, Source Creator)(2) สาร (Message, Information)(3) สื่อ หรือพาหนะ หรือช่องทางในการนำสาร ส่งไป (Media หรือ Channel)(4) ผู้รับสาร (Receiver)(5) ปฏิกิริยา หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หลังส่ง-รับสาร (Feed Back)
3.การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง
ตอบ
สื่อ (Medium) ที่เป็นตัวกลางและอนุญาตให้ข้อมูล/สารสนเทศผ่านจากจุดส่งถึงผู้รับในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง ปริมาณของข้อมูลที่ช่องทางการสื่อสารสามารถนำไปได้นั้น เรียกว่า ความจุของช่องทางการสื่อสาร หรือ แบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ซึ่งนับเป็นจำนวนบิต (Bits) ต่อ 1 วินาที (bits per second : bps) สื่อที่ทำหน้าที่เป็นช่องทางการสื่อสาร ประกอบไปด้วยสายโทรศัพท์ (Telephone Line) เป็นช่องทางการสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย ประกอบด้วยลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวน 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว เป็นสายสื่อสารที่ใช้ได้ทั้งในบ้านและในองค์กรธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปองค์การโทรศัพท์ฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการให้บริการสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้ บริการดังกล่าวได้แก่Voice-grade Service หมายถึง การสื่อสารข้อมูลในรูปของสัญญาณแอนะล็อก (Analog) บนสายโทรศัพท์ โดยมีโมเด็มเป็นเครื่องแปลงสัญญาณ มีแบนด์วิดธ์เท่ากับ 56 K bps โดยประมาณISDN (Integrated Services Digital Network) เป็นระบบเครือข่ายที่มีความเร็วและความจุของช่องสื่อสารสูงถึงประมาณ 128 K bps และยังสามารถแยกช่องสื่อสารเดียวกันออกเป็นช่องสื่อสารเสียง และช่องสื่อสารสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์Two-megabit Service เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีความเร็ว 2 M bps (2,000,000 bits per second) โดยผ่านโมเด็ม สามารถรับข้อมูลที่อยู่ในรูปของภาพเคลื่อนไหวในระบบวีดิทัศน์ รวมทั้งกราฟิกความเร็วสูง และการเข้าถึงสารสนเทศแบบ on line real-time ของผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ ในระบบเครือข่ายสายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) หรือที่รู้จักในนามของสายโทรทัศน์ (Cable Television) ประกอบด้วยลวดทองแดงหลายเส้นหุ้มด้วยฉนวนกันน้ำ จัดเป็นสายสื่อสารที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณสูง มีการรบกวนต่ำ นิยมใช้เป็นช่องสัญญาณแอนะล้อกผ่านทะเล มหาสมุทร และใช้เป็นช่องสัญญาณในระบบเครือข่ายแบบ LAN มีความจุประมาณ 100 M bps ซึ่จัดได้ว่าเป็นช่องสื่อสารที่มีความจุสูงมากสายใยแก้ว (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยหลอดหรือเส้นไฟเบอร์ขนาดเล็กจิ๋วเท่าเส้นผมมนุษย์ ภายในกลวงเพื่อให้แสงเลเซอร์วิ่งผ่าน เป็นสายสื่อสารที่มีความจุของช่องสื่อสารนับเป็นล้านล้านบิตต่อวินาที (Gbps) เนื่องจากใช้แสงในการนำส่งข้อมูลแทนการใช้สัญญาณไฟฟ้า จึงทำให้มีความเร็วในการนำส่งข้อมูลมากกว่าช่องทางการสื่อสารทุกชนิดสัญญาณไมโครเวฟ (Microwave Signals หรือ Radio Signals) เป็นช่องทางการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง (High Speed Wireless) ส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟหรือสัญญาณวิทยุ โดยสัญญาณจะวิ่งเป็นเส้นตรง จึงต้องมีสถานีรับ-ส่งเป็นระยะๆ จากจุดส่งถึงจุดรับ สถานีขยายสัญญาณจึงมักตั้งอยู่บนที่สูงเพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางขณะส่งสัญญาณไปในอากาศจากข้อจำกัดของสัญญาณไมโครเวฟดังกล่าวนี้ จึงได้มีการพัฒนาดาวเทียม (Satellites)ขึ้นมาเพื่อส่งสัญญาณไมโครเวฟในระยะที่ห่างจากพื้นดิน โดยดาวเทียมจะทำการรับสัญญาณ จากสถานีภาคพื้นดินเพื่อขยายสัญญาณ ปรับความถี่ของคลื่น และส่งสัญญาณกลับลงมายังสถานีภาคพื้นดินหลายจุด ในบริเวณที่กว้างมาก เพื่อลดข้อจำกัดของไมโครเวฟ และที่สำคัญคือ ดาวเทียมสามารถสื่อสารข้อมูลจากแหล่งส่ง 1 แหล่งไปยังผู้รับจำนวนมากบนพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก
4.วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมนุษย์ทุกคนมีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น และเพื่อให้การอยู่ร่วมกันนั้นดำเนินไปอย่างสันติสุข การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยปกติมนุษย์จะใช้การสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1.เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูลเหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ 2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา เป็นการสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา จึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอน หรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ 3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร เช่น ทำให้เกิดความบันเทิง รื่นเริง สนุกสนาน เกิดความพอใจ เกิดความสุข ความสบายใจ เป็นต้น 4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ จะมุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตาม เช่น เปลี่ยนทัศนคติจากที่เคยไม่ชอบมาชอบได้ ฉะนั้น ผู้ส่งสารจึงต้องใช้วิธีการนำเสนอสารในรูปแบบของการแนะนำ ชี้แนะ หรือยั่วยุ และปลุกเร้าที่เหมาะสม
5.ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูจะนำวิธีการสื่อสารไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษาครูซึ่งการสือสารให้นักเรียนเข้าใจตรงกับข้าพเจ้าเนื้อหาที่เราเอาไปใช้ในการสอน การสือสารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการสอนและนำเทคโนโลยีใหม่ๆนำไปสื่อสารกับนักเรียน จะนำหลักการและวิธีการที่ดีมา ใช้ในการในการสือสารเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสารในการเรียนการสอน
ใบงานที่ 2 ภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา
เรื่อง ภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้ความหมาย ผู้นำ ผู้บริหาร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ตอบ ผู้นำ (Leader) เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งต่อความสำเร็จขององค์การทั้งนี้ เพราะผู้นำมีภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบโดยตรงที่จะต้องวางแผนสั่งการดูแล และควบคุมให้บุคลากรขององค์การปฏิบัติงานต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ปัญหาที่เป็นที่สนใจของนักวิชาการและบุคคลทั่วไปอยู่ตรงที่ว่า ผู้นำทำอย่างไรหรือมีวิธีการนำอย่างไรจึงทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตามเกิดความผูกพันกับงานแล้วทุ่มเทความสามารถ และพยายามที่จะทำให้งานสำเร็จด้วยความเต็มใจ ในขณะที่ผู้นำบางคนนำอย่างไร นอกจากผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่เต็มใจในการปฏิบัติงานให้สำเร็จอย่างมประสิทธิภาพแล้ว ยังเกลียดชังและพร้อมที่จะร่วมกันขับไล่ผู้นำให้ไปจากองค์การผู้บริหาร คือ ผู้ที่แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถ แล้วนิเทศงานอย่างเป็นระบบ พร้อมให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีคุณภาพ
2. นักศึกษาสรุปบทบาทและภาระหน้าที่ของผู้นำ
ตอบ
ภาวะผู้นำมีบทบาทที่แบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็น 4 ประการ (พรทิพย์ อัยยิมาพันธ์, 2547: 68) ได้แก่
1.การกำหนดแนวทางหลัก (Pathfinding) ผู้นำควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายและแนวความคิดที่ชัดเจน บทบาทดังกล่าวจะช่วยให้ผู้นำสร้างแผนงานแม่แบบ (blueprint of action) ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการก่อนจะลงมือปฏิบัติตามแผน นอกจากนั้น ไม่เพียงแต่ต้องรู้ถึงวิธีการกำหนดทิศทางและเป้าหมายเท่า ผู้นำต้องมีความสามารถนำให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการสร้างพันธกิจ วิสัยทัศน์ และสื่อสารอย่างชัดเจนถึงความแตกต่างและผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากความสำเร็จในอนาคต อีกทั้งยังสามารถทำให้พนักงานมีแรงจูงใจและรู้สึกตื่นเต้นกับทิศทางใหม่นี้ด้วย
2.การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล (Aligning) การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผลหรือการทำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน คือการลงมือสร้างแผนหลักที่กำหนดขึ้นในขั้นตอนที่หนึ่ง ทุกระดับชั้นขององค์การควรมีการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียว
3.การมอบอำนาจ หากผู้นำมีการมอบอำนาจให้แก่พนักงานอย่างจริงจังจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มเกิดประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์ใหม่ๆที่สร้างสรรค์ ซึ่งมาจากการที่สมาชิกของกลุ่มหรือพนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นและศักยภาพของตนได้อย่างอิสระ โดยผู้นำต้องสร้างสภาวะที่จะกระตุ้นการสร้างเสริมและปลดปล่อยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถพิเศษเฉพาะตัว ความสามารถ และศักยภาพที่มีอยู่ในบุคคลทุกคน
4.การสร้างตัวแบบ (Modeling) หัวใจของการเป็นผู้นำคือ ต้องสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะไม่เพียงแต่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไรเท่านั้น แต่ผู้นำยังต้องมีคุณสมบัติของผู้นำที่ดีด้วย กล่าวคือ ต้องเข้าใจถึงความสำคัญของดุลยภาพระหว่างคุณลักษณะ (Characteristics) กับความรู้ความสามารถ เพราะไม่ว่าบุคคลจะมีความสามรถเพียงใดก็ไม่สามารถจะเป็นผู้นำที่แท้จริงได้ หากปราศจากซึ่งคุณลักษณะที่เหมาะสม
3. นักศึกษาจะมีวิธีการพัฒาภาวะผู้นำของนักศึกษาได้อย่างไร
ตอบ การพัฒนาภาวะผู้นำ การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จะต้องพัฒนา ตัวเองอยู่เสมอให้นำหน้าบุคคลอื่น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ใต้บังคับบัญชาของตัวเอง พัฒนาตัวเองให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ การพัฒนา ภาวะผู้นำอาจทำได้ ดังนี้1. Learn on the job คือ เรียนจากงานที่ทำ ส่วนมากเวลาเราไปศึกษาดูงานจากสถานศึกษา มักจะดู Product (ผลงาน) มากกว่า เช่น เราไปดูโรงเรียนดีเด่น ผู้บริหารของโรงเรียนดีเด่น มักจะไม่ดูว่าเขาทำอย่างไรจึงได้รับความสำเร็จเป็นโรงเรียนดีเด่น คือเราไม่ดูกระบวนการ (Process) หรือ วิธีการ อย่าลืมว่า งานยิ่งท้าทายมากเท่าไรคนยิ่งใช้ความพยายามมากขึ้น คนยิ่งกระตือรือร้นยิ่งขึ้น เป็นการท้ายทายกระตุ้นความสามารถยิ่งขึ้น 2. Learn from people คือ เรียนจากผู้อื่น ผู้นำต้องพร้อมที่จะเรียน พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ผู้ใดที่อยู่ในกลุ่มคนเรียนเก่งก็จะเก่งไปด้วย แต่ตรงข้ามถ้าอยู่ในกลุ่มของคนเรียนอ่อนก็พลอยเป็นคนเรียนอ่อนไปด้วย เหมือนคำโบราณที่กล่าวว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล” 3. Learn from bosses คือ เรียนจากนาย ถ้าเราได้นายดี เราจะเรียนรู้อะไรมากมายจากนาย ตรงข้ามถ้านายเราไม่ดี เราก็พลอยแย่ไปด้วย ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นนายที่ดีของลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย การเรียนจากบทบาทแบบอย่าง (Roles) จะทำให้ผู้นำพัฒนาภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น ผู้นำหลายคนเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง ซึ่งความผิดพลาดจะกลายเป็นบทเรียนชั้นดีได้
4. นักศึกษากล่าวถึงภาวะผู้นำสมัยใหม่จะต้องมีวิธีคิดอย่างไร
ตอบ
บุคคลที่มีภาวะผู้นำผมคิดว่าจะต้องมีวิธีคิดคือ
1. ความรู้ (Knowledge)
การเป็นผู้นำนั้น ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะความรู้
เกี่ยวกับงานในหน้าที่เท่านั้น หากแต่รวมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดี หัวหน้างานจึงต้องเป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผุ้นำก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้นเพียงนั้น
2. ความริเริ่ม (Initiative)
ความริเริ่ม คือ ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้ด้วย
ตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้น หรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเอง
3. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage and firmness)
ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวต่ออันตราย ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกาย
วาจา และใจ
ผู้นำที่มีความกล้าหาญ จะช่วยให้สามารถผจญต่องานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้
นอกจากความกล้าหาญแล้ว ความเด็ดขาดก็เป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้น
ในตัวของผู้นำเองต้องอยู่ในลักษณะของการ “กล้าได้กล้าเสีย” ด้วย
4. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต ( Fairness and Honesty)
ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริต
ต่อตนเองและผู้อื่น เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยสั่งการ หรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ไม่เล่นพรรคเล่นพวก
5 . มีความอดทน (Patience)
ความอดทน จะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ อย่างแท้จริง
6. มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม ( Alertness )
ความตื่นตัว หมายถึง ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยาขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์ ความตื่นตัวเป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย แต่การไม่ตื่นตูม เป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุต่างๆได้อย่างถูกต้อง
พูดง่ายๆ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมตัวเองนั่นเอง (Self control)
8. มีความภักดี (Loyalty)
การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวมและต่อองค์การ ความภักดีนี้ จะช่วยให้หัวหน้าได้รับความไว้วางใจ และปกป้องภัยอันตรายในทุกทิศได้เป็นอย่างดี
9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty)
ผู้นำที่ดีจะต้องๆไม่หยิ่งยโส ไม่จองหอง ไม่วางอำนาจ และไม่ภูมิใจในสิ่งที่ไร้เหตุผล
ความสงบเสงี่ยมนี้ ถ้ามีอยู่ในหัวหน้างานคนใดแล้ว ก็จะทำให้ลูกน้องมีความนับถือ และให้ความร่วมมือเสมอ
5. นักศึกษาคิดว่า ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำที่ดีควรทำอย่างไร
ตอบ ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำ จะต้องมีสมบัติดังนี้
1.ต้องเป็นนักเผด็จการ หมายถึงผู้บริหารสามารถจะสั่งการได้อย่างเด็ดขาด ผลผลิตที่ได้มาส่วนใหญ่จะมาด้วยปริมาณ ส่วนเรื่องคุณภาพที่จะดีในช่วงแรก ๆ หากผู้นำสามารถสอดส่องดูแลอยู่ตลอดเวลา ผลผลิตก็อาจจะมีทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีตามไปด้วย
2. ต้องเป็นนักพัฒนา ผู้นำประเภทนี้จะต้องมีผู้ร่วมงานที่รู้ใจ สามารถสร้างสรรงานใหม่ ๆ ตลอดเวลา
3 .ต้องเป็นนักบริหาร ผู้นำประเภทนี้จะใช้การทำงานด้วยวิธีใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็นแม้กระทั่งในการวางนโยบายต่าง ๆ การทำงานโดยทั่วไปจึงเป็นไปในลักษณะประชาธิปไตย ผู้ร่วมงานจะต้องเป็นผู้มีคุณภาพเพียงพอ สามารถตอบสนองการทำงานในระบบใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี
4.ต้องเป็นนักเผด็จการอย่างมีศิลปะ ผู้นำประเภทนี้เป็นนักพูดที่เฉลียวฉลาด จะใช้การพูดเป็นการชักชวนให้เกิดการทำงานด้วยความเต็มใจ มีการเสนอแนะและหว่านล้อม ให้เห็นคล้อยตามไปโดยปริยาย
ใบงานที่ 1ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
ตอบ การบริหารเป็นศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ และเป็นกระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราจะเรียกว่าเป็นการบริหารได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย การบริหารการศึกษา เป็นกิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายที่เราได้กำหนดไว้
2. นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ
ศาสตร์คือ สิ่งที่สามารถศึกษาได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน มีกฎเกณฑ์ หลักการและทฤษฎีที่เชื่อถือได้ เช่น การจัดการเรียนรู้ วิชาเรียนต่างๆศิลปะคือ การนำเทคนิค วิธีการ กลเม็ดมาใช้หรือประยุกต์ใช้หรือการนำมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ เช่น การมีศิลปะในการพูด
3. นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
ตอบ วิวัฒนาการของการบริหารวิวัฒนาการของการบริหาร มี 4 ยุค คือ ยุคที่ 1 วิวัฒนาการของการบริหารยุคก่อน Classical เป็นระยะเวลาก่อนการคิดค้นการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ เริ่มต้นตั้งแต่คนรู้จักรวมกำลังทำงานเรื่อยมา จนถึงประมาณ ค.ศ. 1880 เป็นครั้งแรกที่คาเริ่มหาวิธีการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ สาะสำคัญในยุคที่ 11. คนงานอยู่ภายใต้อำนาจของหัวหน้าผู้ควบคุมหรือนายจ้าง2. ความสัมพันธ์ระหว่างกันมีพื้นฐานจากระบบเจ้าขุนมูลนาย3. ใช้ระบบเผด็จการ4. สังคมชาวเยอรมันมีการแบ่งแยกบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่า5. มีระบบศักดินา ยุคที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุค ยุคที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุค Classical ป็นยุคการบริหารทีมีหลักเกณฑ์ อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1880 – 1930สาระสำคัญของยุคที่ 21. มีการรปฏิวัติอุตสาหกรรม2. มีการจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างเพียงพอ3. มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว4. มีความก้าวหน้าทางวิชาการ5. เกิดศาสตร์ทางการบริหาร พื้นฐานความคิดของการบริหารยุคนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ยุคที่ 3 วิวัฒนาการของการบริหารยุคมนุษยสัมพันธ์เป็นแนวคิดทางการบริหารที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1974 มาจนถึง ค.ศ. 1950 พื้นฐานความคิดทางการบริหารกล่าวได้ว่า Elton Mayo เป็นบุคคลแรกที่มำให้แนวความคิดทางการบริหารเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์เป็นสังคม มีความต้องการให้ความคิดของตัวเองเป็นจริง เน้นการจูงใจ ยุคที่ 4 ยุคพฤติกรรมศาสตร์ คือ เป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญทั้งงานและคนตามสถานการณ์
4. นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
ตอบ
ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น
3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X,
Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน
ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ 2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง 3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ 4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5. คนมักโง่ และหลอกง่าย ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้ 1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน 2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง 4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ
5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
ตอบ ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์มีส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การพัฒนามนุษยสัมพันธ์ต้องเริ่มที่เราก่อน โดยยึดหลักการวิเคราะห์และปรับปรุงตนเอง พัฒนาตนเอง(กรมวิชาการ,2526)เข้าใจผู้อื่น วิเคราะห์คนอื่น วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม มนุษยสัมพันธ์ก็จะเกิดขึ้น ตนเองมีความสุข ผู้อื่นมีความสุข สังคมมีประสิทธิภาพ โลกเราก็จะมีความสุขมากยิ่งขึ้น ระวีวรรร เสวตามร (2532 อ้างถึงในอัจนา ศรีสุรพล,2533)กล่าวถึงประโยชน์ของการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีหลายประการ คือ ทำให้เกิดความราบรื่นในการคบหาสมาคม มีความเข้าใจที่ดีต่แกัน ทำให้เกิดความพอใจของการปฎิบัติงาน เกิดความสามัคคี รักใคร่ปรองดองกัน เกิดความสำเร็จในงานที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกันนั้น เกิดปัจจัยในการเพิ่มผลผลิต และเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาและความขัดแย้งและมนุษยสัมพันธืยังเป็นหัวใจของการอยู่ร่วมกันและการทำงานร่วมกัน ทั้งนี้เพราะการอยู่ของการทำงานร่วมกันนั้นจะหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมพันธ์กันไม่ได้ และการติดต่อสัมพันธ์นี่เอง ที่มีผลทำให้เกิดความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ ที่จะอยู่หรือทำงานร่วมกัน

ใบงานที่ 1